Wednesday, November 28

กิจกรรมที่ 2 :รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

1.  ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรน่าสนใจบ้าง

คำตอบ   ข้อที่หนึ่ง   การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
              ข้อที่สอง    การลดอำนาจผูกขาดและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
              ข้อที่สาม    การทำให้การเมืองมีความโปร่งใสและยุติธรรม
              ข้อที่สี่        การทำให้ระบบตรวจสอบ มีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

คำตอบ    ประเด็นของสิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวกับการศึกษาและ

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

คำตอบ  ประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และประเด็นของสิทธิและเสรีภาพที่เกี่ยวกับการศึกษา

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

คำตอบ  การศึกษาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้ เพราะว่า นั้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติในทางที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญในฉบับที่ออกมาจะเน้นในส่วนงานปกครองมากกว่า แต่ก็ยังถือได้ว่า รัฐธรรมนูญที่ออกมานี้ ต้องการปรับปรุงและแก้ไข ปัญหาในด้านต่างๆ เพราะฉะนั้น การที่เรามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็สามารถเป็นพื้นฐานที่ดีในการฟื้นฟูประเทศชาติ อย่างเต็มที่

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

คำตอบ  ขอตอบทีละคำถามนะค่ะ  คำถามแรกถามว่า มีความคิดเห็นอย่างไร ที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใด หนูคิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นค่ะ เพราะประเทศไทยของเรากำลังปรับตัวในเข้ากับประชาคมโลก ดังนั้น บางครั้งบางอย่างในรัฐธรรมนูญค่อนข้างล้าสมัย หรือ มีช่องโหว่มากเกินไป ก็ควรที่จะได้รับการแก้ไข ทำไมถึงมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน  คำตอบของหนู คือ เป็นการคัดผลประโยชน์ส่วนตัวค่ะ เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องส่วนตัวก็ไม่คัดค้านหรอกค่ะ 

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่า

คำตอบ  ในความคิดของหนูเอง  มองว่า การปกครองประเทศยังต้องพัฒนากว่านี้ อีกมาก เพราะว่า ในหลายกระแสตอนนี้ โจมตีการตัดสินปัญหาต่างๆที่ขึ้นตรงต่อรัฐสภาว่า ยังการเคลือบแคลงอยู่ แสดง อำนาจทั้งสามนี้ ยังไม่สามารถรักษาความมั่นคงให้เกิดแก่ประเทศชาติและบ้านเมืองได้ หากยังไม่หยุดทะเลาะกันและช่วยเหลือกันเอง ประเทศไทยเราอาจจะเกิดปัญหาที่้ร้ายแรงกว่านี้แน่นอน...



 

Wednesday, November 7

กิจกรรมที่ ๑ คำนิยามที่เกี่ยวกับกฏหมาย

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ ๑

๑. กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคลด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ

๒. สิทธิ  คือ อำนาจที่จะกระทำการใดๆได้อย่างอิสระ โดยได้รับรองจากกฎหมาย

๓. เสรีภาพ  คือ การที่บุคคลสามารถจะเลือกคิด ทำ พูด อย่างไรก็ได้ตามความพอใจของตน

๔. หน้าที่  คือ กิจที่ควรทำ กิจที่ต้องทำ 

๕. ความเสมอภาค  คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการใช้บริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระบบเดียวกัน ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐบาล ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งใด

๖. บุคคล  คือ  สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย  และมิได้หมายความเฉพาะมนุษย์ซึ่งก็เรียกว่าบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว  แต่กฎหมายได้รับรองบรรดาคณะบุคคลหรือกิจการและทรัพย์สินบางอย่างตามกฎหมายที่กำหนดไว้  ให้เป็นบุคคลในความหมายของกฎหมายได้อีกประการหนึ่งกล่าวคือให้มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา  เช่น  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด  สมาคมและมูลนิธิ  แต่สิทธิและหน้าที่บางประการ  ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่มนุษย์เพียงเท่านั้น  เช่น  การสมรส  การรับรองบุตร ฯลฯ  บุคคลซึ่งกฎหมายให้สิทธิพิเศษนี้ไว้เรียกว่านิติบุคคลซึ่งก็มีความหมายตามกฎหมายอยู่แล้ว

๗. นิติกรรม  คือ   การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ

๘.  การสืบสวน  คือ การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอหรือตำรวจได้ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 

๙. การสอบสวน  คือ การรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบมบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายนี้ เพื่อที่จะทรายข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด

๑๐. บรรทัดฐาน  คือ สิ่งที่สืบทอดต่อกันมา

อ้างอิง : ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (๒๕๕๕). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com [๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕]
                  สำนักปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (๒๕๕๔). คำนิยามทางกฏหมายไทย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www. lawamendment.go.th [๑๓ พฤศจิกายน  ๒๕๕๕ ]