Wednesday, November 7

กิจกรรมที่ ๑ คำนิยามที่เกี่ยวกับกฏหมาย

ตอบคำถามจากกิจกรรมที่ ๑

๑. กฎหมาย คือ บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคลด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ

๒. สิทธิ  คือ อำนาจที่จะกระทำการใดๆได้อย่างอิสระ โดยได้รับรองจากกฎหมาย

๓. เสรีภาพ  คือ การที่บุคคลสามารถจะเลือกคิด ทำ พูด อย่างไรก็ได้ตามความพอใจของตน

๔. หน้าที่  คือ กิจที่ควรทำ กิจที่ต้องทำ 

๕. ความเสมอภาค  คือ การที่บุคคลหรือประชาชนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการใช้บริการสาธารณะได้อย่างเดียวกันภายใต้ระบบเดียวกัน ซึ่งตัวแทนของรัฐบาลหรือข้าราชการของรัฐบาล ไม่สามารถที่จะเลือกปฏิบัติหรือการให้บริการกับประชาชนเฉพาะคนใด คนหนึ่งใด

๖. บุคคล  คือ  สิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย  และมิได้หมายความเฉพาะมนุษย์ซึ่งก็เรียกว่าบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว  แต่กฎหมายได้รับรองบรรดาคณะบุคคลหรือกิจการและทรัพย์สินบางอย่างตามกฎหมายที่กำหนดไว้  ให้เป็นบุคคลในความหมายของกฎหมายได้อีกประการหนึ่งกล่าวคือให้มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา  เช่น  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด  สมาคมและมูลนิธิ  แต่สิทธิและหน้าที่บางประการ  ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่มนุษย์เพียงเท่านั้น  เช่น  การสมรส  การรับรองบุตร ฯลฯ  บุคคลซึ่งกฎหมายให้สิทธิพิเศษนี้ไว้เรียกว่านิติบุคคลซึ่งก็มีความหมายตามกฎหมายอยู่แล้ว

๗. นิติกรรม  คือ   การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน  สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ

๘.  การสืบสวน  คือ การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอหรือตำรวจได้ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน 

๙. การสอบสวน  คือ การรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบมบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายนี้ เพื่อที่จะทรายข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด

๑๐. บรรทัดฐาน  คือ สิ่งที่สืบทอดต่อกันมา

อ้างอิง : ไพศาล ภู่ไพบูลย์. (๒๕๕๕). นิยามของกฎหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www.truepookpanya.com [๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕]
                  สำนักปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (๒๕๕๔). คำนิยามทางกฏหมายไทย (ออนไลน์) สืบค้นจาก www. lawamendment.go.th [๑๓ พฤศจิกายน  ๒๕๕๕ ]

No comments:

Post a Comment